วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

Assignment 11: English Sentence Structure

 โครงสร้าง Sentence


Sentence Structure  ชนิดโครงสร้างประโยค ......ประโยคแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้คือ



1. Simple sentence
ประโยค simple sentence คือประโยคที่มีโครงสร้างอย่างง่าย มี clause อิสระหรือ independent clause อันเดียว เช่น
·         The student is working hard.
·         She confessed her crime to the police.

2. Compound sentence
Compound sentence คือ ประโยคที่มีตั้งแต่สอง independent clauses (ซึ่งเป็น simple sentences) ขึ้นไป และแต่ละ clause แยกออกมาเขียนเป็น simple sentence ได้ ในประโยค compound sentence ไม่มี dependent clauses คำ conjunctions ที่ใช้เชื่อม ได้แก่ and, but, or, so, for
1.    You may discuss this report with your colleagues first, but our CEO will finally finalize it.
2.    The bus stopped at the bus terminal and all the passengers got out of it.

3. Complex sentence
Complex sentence คือประโยคที่มีเพียงหนึ่ง independent clause เท่านั้น แต่จะมี dependent clause หนึ่ง clause หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้มาเป็นส่วนขยาย
·         You didn’t tell me that you were going to set up a new business.
ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น noun clause
The couple who lived in the big house at the corner used to be movie stars.
ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น relative clause ทำหน้าที่เป็น adjective clause ขยายคำ noun ‘the couple’
As soon as I realized that something had gone wrong, I called the police. (as soon as ใช้นำหน้า adverb clause of time)
This is the place where his brother was killed.
(where ใช้นำหน้า adverb clause of place)
She talked to him as if she were her mother.
(as if ใช้นำหน้า adverb clause of manner)
Alisa asked her parents to let her stay in her own flat because she wanted to be independent.
(because ใช้นำหน้า adverb clause of reason)
Although he had tried hard to investigate the case, he found little useful evidence.
(although ใช้นำหน้า adverb clause ที่บอก contrast)
Realizing that the political climate in the country was unfavourable, Mr. Johnson cancelled the plan to expand his business.
(ส่วนที่ขีดเส้นใต้เรียกว่า participial phrase ลดรูปมาจาก clause เต็ม ๆ ว่า After Mr. Johnson realized that the political climate in the country was unfavourable อยู่ในรูป active voice)
Strongly criticized by her friends, she refused to join the team.
(ส่วนที่ขีดเส้นใต้ก็เป็น participial phrase ด้วย ลดรูปมาจาก clause เต็มว่า When หรือ After she was strongly criticized by her friend. อยู่ในรูปpassive voice)

4. Compound – complex sentence
Compound – complex sentence คือประโยคที่มีตั้งแต่สอง independent clauses
ขึ้นไป และมี dependent clauses ตั้งแต่หนึ่ง clause ขึ้นไป กล่าวง่าย ๆ คือมีทั้งประโยค compound และ complex ปนกันอยู่ เช่น
Since that article seems to satisfy your needs, we are enclosing a copy and we hope that it will help you find a suitable solution to your problem.

การจำแนกส่วนต่าง ๆ ของประโยค ตามลักษณะหน้าที่
หากจะพิจารณาโครงสร้างของประโยคตามหน้าที่ (function) ของคำประเภทต่าง ๆ ว่าทำหน้าที่อะไรในประโยคแล้ว โครงสร้างของประโยคจะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญที่สุด 3 ส่วนคือ ประธาน (Subject), กริยา (Verb) และส่วนเติมให้สมบูรณ์ (Complement)
ส่วนขยาย (modifiers) เช่น (adjectives, adverbs) และคำเชื่อม (connectives) เช่น prepositions, conjunctions, และอื่นๆ มีหน้าที่ช่วยเพิ่มเติมสนับสนุนที่สำคัญที่สุด โดยที่ modifiers มีหน้าที่ช่วยให้มีความหมายมากขึ้น หรือชัดเจนยิ่งขึ้น และ connectives มีหน้าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ของประโยค เพื่อให้ประโยคเหล่านั้นมีความต่อเนื่องราบรื่น ไม่สะดุด

1. Subject คือคำ หรือกลุ่มคำที่อาจเป็นบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือสภาวะทางนามธรรม ซึ่งเป็นผู้แสดงออกในประโยค ส่วนใหญ่ subjects ที่เป็นประเภทคำโดด (single words) มักจะเป็นคำประเภท nouns และ pronouns เสมอ เช่น
The Principal called the meeting at 2 o’clock.
He wanted every staff member to attend the meeting.
Verbals (คำคล้าย verbs) เช่น gerund และ infinitive ก็อาจเป็น subject ได้
Jogging is good exercise. (gerund)
To run is more tiring than to walk. (infinitive)
The demonstrative, interrogative และ indefinite pronouns เป็น subjects ได้
That is going to be a difficult task. (demonstrative)
What are your plans for doing it? (interrogative)
Everyone is ready to work with you. (indefinite)
Phrase ที่ทำหน้าที่เหมือน noun เป็น subject ของ sentence ได้
Winning the prize is the thing he is so proud of.
To make this report as comprehensive as possible is our main objective.
Dependent clause ทั้ง clause ก็ทำหน้าที่เป็น subject ได้
Whoever works in the headquarter will be able to supply the information you need.
Whether the report has been approved or not will determine our action.

2. Verb  คือคำที่ใช้แสดงการกระทำของ subject (active verb) หรือการถูกกระทำ (passive verb) และอาจเป็นคำที่แสดงให้รู้จัก subject ซึ่งเรียกกันว่าlinking verb ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของการกระทำหรือการถูกกระทำแต่อย่างใดก็ได้ เช่น He appears happy. She looks cheerful. ในประโยคหนึ่ง ๆ จะมี verbเสมอเมื่อพูดถึง verb จะต้องนึกถึงตัวกำหนดรูปแบบของ verb 5 กรณีดังต่อไปนี้คือ
พจน์ (number) - กาล (tense) - การก (voice)
บุคคล (person)) - มาลา (mood)
ตัวกำหนดทั้ง 5 กรณีนี้จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของ verb ซึ่งอาจเปลี่ยนที่รูปแบบของ verb หรือใช้ auxiliary verbs เหล่านี้ช่วย เช่น be, have, can, may, might, shall, will, should, would, could, must, do

Verbs เปลี่ยนแปลงไปตามตัวกำหนดดังนี้

2.1 Number กำหนดให้ verb นั้นเป็น singular หรือ plural verb ก็จะต้องเปลี่ยนไปตามนั้น
2.2 Person กำหนดให้ verb เปลี่ยนไปตาม person 3 อย่างคือ บุรุษที่ 1 first person (I), บุรุษที่ 2 second person (you) หรือ บุรุษที่ 3 third person (he, it, they)
2.3 Tense กำหนดให้ verb เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามเวลาที่เกิดเหตุการณ์แล้วแต่จะเป็น past, present หรือ future
2.4 Mood กำหนดให้ verb เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของประโยค หรือข้อความที่พูดแล้วแต่ว่าจะเป็นบอกเล่า หรือถาม (indicative mood) ออกคำสั่ง หรือขอร้อง (imperative mood) หรือลักษณะประโยคเป็นแบบเงื่อนไข หรือการสมมุติ (subjunctive mood)
2.5 Voice กำหนดให้ verb เปลี่ยนไปตามลักษณะที่ว่า subject เป็นผู้กระทำต่อ verb (active voice) หรือเป็นผู้ถูกกระทำ (passive voice)
The technician completed the video recording yesterday. (active voice)
Fund-raising activities were organized to help the orphans. (passive voice)

Verbs เมื่อพิจารณาตามการกระทำว่า Verb นั้นแสดงการกระทำอะไรหรือไม่ หรือเพียงแต่มาเชื่อมกับประธานเฉย ๆ จะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ Transitive verb คือ verb ที่ต้องมีกรรมมารับ เช่น eat, Intransitive verb คือ verb ที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น sleep และ Linking verb ซึ่งมาเชื่อมกับ subject เช่นseem, appear, feel

3. Complement
Complement คือ คำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังกริยา และทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ complement อาจเป็น
3.1 กรรมตรง (Direct object)
He bought a beautiful present for his wife.
We are trying to find a solution to this problem.
3.2 กรรมรอง (Indirect object)
He gave a beautiful present to his wife.
3.3 Predicate nominative ได้แก่ predicate noun, predicate complement และ subjective complement ซึ่งก็คือ predicate nominative นั่นเองPredicate nominative จะตามหลัง linking verbs และทำหน้าที่เป็น subject ในชื่อใหม่
คำที่ทำหน้าที่ predicate nominative เป็นได้ทั้ง noun, pronoun, verbal phrase, หรือ clause
หมายเหตุ: คำว่า predicate แปลง่าย ๆ ก็คือ ภาคแสดงนั่นเอง เช่น He is running แยกเป็น
He = subject และ predicate ก็คือ is running
Noun: He is chairman of the Board of Directors.
Pronoun: They thought the winner was he.
Gerund: My favorite exercise is doing aerobics.
Infinitive phrase: The purpose of this seminar is to find new ways and means to deal with our company’s productivity problem.
Noun Clause: The group leader should be whoever is best qualified.
3.4 Predicate adjective คือ adjective ที่เป็นภาค predicate ของประโยคและขยาย noun หรือ pronoun ที่เป็น subject Predicate adjective จะต้องอยู่หลัง linking verb เสมอ
The flower smell sweet.
He seemed depressed after his wife’s death.
He appears enthusiastic about the subject.

4. Modifiers (adjectives, adverbs) อาจเป็น single words, phrases หรือ clauses ก็ได้
Modifiers มีหน้าที่อธิบาย หรือช่วยให้ความหมายของคำต่าง ๆ ในประโยคชัดเจนขึ้น และ Modifiers อาจทำให้ความหมายของประโยคกำกวมถ้าวางไม่ถูกตำแหน่ง

4.1 Adjectives คือคำที่ใช้ขยายหรือจำกัดความหมายของ noun หรือ pronoun ให้ชัดเจนขึ้น
The new employee has been assigned the difficult task of analyzing the statistical reports on income tax.
Somchai was very disappointed; he failed completely in that fierce competition.

4.2 Adverbs คือคำที่ใช้ขยาย verbs, verbals, adjectives หรือ adverbs อื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง adverbs คือคำที่ตอบคำถามคำที่ขึ้นต้นด้วย where, how, how much, when, why เช่น
We will organize the party here.
She walks very fast.
Spending money unwisely, he ran out of his allowance.
Submit your report as soon as it is completed.
She went downtown to buy a new piece of jewellery.

5. Connectives
Connectives มีหน้าที่เชื่อมส่วนของประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนที่เชื่อมนั้น conjunctions และ prepositions ถือเป็น connectives ที่สำคัญที่สุดลักษณะสำคัญของ connectives มีดังนี้

   5.1 เชื่อมส่วนของประโยค หรือ clause ที่มีฐานะเท่ากัน ได้แก่ coordinate conjunctions, correlative conjunctions, และ conjunctive adverbs. connectives เหล่านี้ปรากฎอยู่ใน compound sentence . Coordinate conjunctions Connectives ประเภทนี้ใช้มากที่สุด จะใช้เชื่อมส่วนของประโยคที่มีฐานะหรือความสำคัญเท่ากันทางไวยากรณ์ คือ words กับ words, phrases กับ phrases, independent clauses กับ independent clauses คำเหล่านี้ที่ใช้มาก ได้แก่ and, but, or, nor, for, yet    เช่น I go to school, but my sister stays at home.  Correlative conjunctions Connectives ประเภทนี้จะเป็นคำคู่ ใช้เชื่อมส่วนของประโยคที่มีฐานะเท่ากันเหมือน coordinate conjunctions แต่คำที่ใช้เป็นคู่นั้นจะต้องตามด้วยคำชนิดเดียวกัน ตัวอย่าง connectivesประเภทนี้ได้แก่ either…or, neither…nor, not only…but also, both…and  เช่น Either he leaves or I will.
Conjunctive adverbs ประเภทนี้ใช้เชื่อม independent clauses ด้วยกันเพื่อแสดงความสัมพันธ์อย่างไรก็ดีถึงแม้ clauses ที่ถูกเชื่อมจะเป็น independent clauses แต่ก็เป็น independent ในเชิงไวยากรณ์เท่านั้น ในแง่ความหมายที่สมบูรณ์จริง ๆ แล้วยังไม่สมบูรณ์ หากยังต้องอาศัย clause ที่มาก่อนจึงจะสมบูรณ์อย่างแท้จริง Conjunctive adverbs ที่ใช้มากคือ therefore, however, consequently, accordingly, subsequently, furthermore, moreover, nevertheless เช่น This task is very difficult; therefore, we need all of us to co-operate.

     5.2 เชื่อมส่วนของประโยคที่มีฐานะไม่เท่ากัน ได้แก่ subordinate conjunctions, relative pronouns, และ relative adverbs. connectives เหล่านี้จะปรากฏอยู่ใน complex sentence Subordinate conjunctions Connectives ประเภทนี้ใช้นำ dependent adverb clauses และเชื่อม independent clausesคำเหล่านี้ที่ใช้มาก ได้แก่ before, since, after, as, because, if, unless, until, although เช่น Although Sompong works very hard, his boss seems to be displeased with his performance.

     5.3 Prepositions  คือคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง verbs กับ noun ซึ่งเป็น object ของ preposition นั้น และช่วยทำให้ความหมายของ verbsที่ถูกเชื่อมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ เช่น to, of, by, from, between, in, over, under, for เช่น The cat is under the table.

6. Verbals
Verbals เป็นคำที่สร้างจาก verbs แต่ไม่มีฐานะเป็น verbs, verbals มี 3 ชนิดคือ infinitive, participle และ gerund

6.1 Infinitives (to go, to run, to see, etc.)  Infinitives ทำหน้าที่เหมือน noun, adjective หรือ adverb ได้
I like to dance. (noun)
A book to read is what the child wants. (adjective)
They went to play basketball. (adverb)

6.2 Participle  มี 3 ชนิดคือ present participle (reading, printing, feeling, etc.), past participle (written, typed, built, etc.) และ perfect participle (having written, having typed, having built, etc.)
Participle ทำหน้าที่อย่างเดียวคือเป็น adjective เท่านั้น คือขยายคำนามที่เป็นประธานของประโยค
Going to the basement, John slipped. (adjective)
Typed and signed, the letter was mailed today. (adjective)
Having seen the accident, she called the police. (adjective)

6.3 Gerund (swimming, running breaking, etc.)  โดยทั่วไปทำหน้าที่เป็น noun
David enjoys playing games on the internet. (noun) ทำหน้าที่กรรมตามหลังคำกริยา enjoy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น